1.ขั้นตอนการทำงาน
1.1การทำงานขั้นต้น
– ทำอยู่อาศัยเอง หรือทำขาย
– กู้ธนาคารหรือไม่
– ก่อสร้างที่ไหน
โดยผู้ว่าจ้างหารูปมาจากอินเตอร์เน็ต / ภาพที่ถ่ายรูปมาแล้วมาประยุกต์เป็นตัวเอง / ร่างในกระดาษมาให้ / ให้ทางเราออกแบบให้
ภายหลังจากที่ได้ตกลงเรื่องแบบแปลนผังห้องและภาพภายนอกบ้านแล้ว ทีมงานจะทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของโครงการใช้ในการจัดเตรียมเอกสารและเพื่อประกอบกับการเขียนแบบก่อสร้าง โดยจะขอข้อมูลดังต่อไปนี้
– ชื่อเจ้าของบ้านหรือชื่อผู้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างพร้อมที่อยู่ปัจจุบันเพื่อระบุลงในแบบ
– สำเนาบัตรประชาชน,หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทกรณีสร้างเชิงพาณิชย์แนบท้ายสัญญา
– ชื่อเจ้าของโฉนดที่ดิน (หากเป็นคนเดียวกับผู้ยื่นขออนุญาตก็ไม่ต้องใช้)ให้เขียนในหนังสือยินยอมให้ก่อสร้างบนโฉนดที่ดินอีกครั้งตอนยื่นขออนุญาต
– สำเนาโฉนดที่ดินเท่าฉบับจริง(เท่านั้น) ห้ามย่อหรือรังวัดที่ดิน ที่เห็นหลักหมุดชัดเจนทุกแปลงที่ใช้ในงานก่อสร้าง ใช้วิธีการสแกนด้วยเครื่องสแกนเนอร์ หรือถ่ายวัดขนาดด้วยไม้บรรทัดมาทุกด้าน
– แผนที่โดยสังเขปของสถานที่ก่อสร้างโครงการเพื่อระบุลงในแบบก่อสร้าง(ให้ใช้คอมพิวเตอร์เข้า GOOGLE MAP,แชร์ที่อยู่ใน LINE ,วาดแผนที่ใกล้สถานที่สำคัญ
– ตำแหน่งถนนหน้าที่ดิน ความกว้างของถนนและเป็นถนนสาธารณะหรือ ถนนส่วนบุคคล
– กำหนดระยะระหว่างหมุดแต่ละหมุดของ หลักโฉนดที่ดิน
– ระยะห่างของตัวบ้านกับขอบเขตที่ดินแต่ละด้าน
1.2 การทำงานขั้นที่ 2
หลังจากที่ได้รับการอนุมัติเห็นชอบในรูปแบบของการวางผังอาคาร วางผังห้องในขั้นตอนการทำงานขั้นตอนแล้วทางทีมงานจะทำการพัฒนาแบบดังกล่าวลงไปในรายละเอียดแบบก่อสร้างโดยขึ้นรูป3D แบบภาพperspective
(โมเดลสามมิติ)แสดงภาพรอบบ้าน
หลังจากที่ได้รับการอนุมัติเห็นชอบในรูปแบบ3Dของอาคารแล้ว และอนุมัติในขั้นตอนแบบร่างครั้งสุดท้ายแล้ว ทางทีมงานจะนำแบบที่ได้รับอนุมัติ จัดทำแบบรายละเอียดตามที่ได้ระบุไว้ในขอบเขตของงาน ประกอบด้วย
1.2.1 แบบก่อสร้างจริง (กระดาษขาวขนาดกระดาษ A3 – จำนวน5 ชุด ) พร้อมสถาปนิกลงนามรับรองการออกแบบมีรายละเอียดดังนี้
– แบบสถาปัตยกรรม
– แบบวิศวกรรมโครงสร้าง
– แบบวิศวกรรมไฟฟ้า
– แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล
รวมแบบแปลนแยกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ รวมจำนวนแผ่นประมาณ 40แผ่น
1.2.2 เอกสารที่ใช้ในการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างที่ทางทีมงานจัดเตรียมให้
1. แบบขออนุญาตก่อสร้าง จัดพิมพ์ด้วยระบบหมึกองค์เจ็ท ขนาดกระดาษ A3 ชุดละประมาณ 40แผ่น จำนวน 5 ชุด
2.สถาปนิกรับรองแบบที่ทำการยื่นขออนุญาตลงลายมือชื่อทุกแผ่น
3.หนังสือรับจากสภาสถาปนิก พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 แผ่น
4.หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือสถาปัตยกรรมควบคุม แบบ น.2 พร้อมสถาปนิกกรอกเอกสารและเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 2 แผ่น
5.สำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 แผ่น
6.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของสถาปนิก พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 แผ่น
7.แบบภาพโมเดล 3D แบบภาพperspective ส่งในรูปแบบไฟล์
8.รายการประมาณการค่าวัสดุและค่าแรงงานก่อสร้าง BOQ สำหรับยื่นกู้ธนาคาร กระดาษ A4 จำนวน 1 ชุด
9.หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานมาตรา 29 แบบ น.4 พร้อมสถาปนิกเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 2 แผ่น
10.หนังสือรับจากสภาวิศวกร พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 แผ่น
11.หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือสถาปัตยกรรมควบคุม แบบ น.2 พร้อมวิศวกร กรอกเอกสารและเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 2 แผ่น
12.สำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 แผ่น
13.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของสถาปนิก พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 แผ่น
14.รายการคำนวณโครงสร้างทางวิศวกรรม A4 พร้อมวิศวกรเซ็นรับรอง จำนวน 1 ชุด
ผู้ว่าจ้างชำระค่างานตามงวดงานที่กำหนดไว้
1.2.3 เอกสารที่ใช้ในการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างที่ทางผู้ยื่นขอต้องเตรียม
ไปติดต่อที่เทศบาล จะให้แบบฟอร์มมาจัดเตรียม
– เจ้าของบ้านลงนามในแบบแปลนทุกแผ่น
– ยื่นไปพร้อมกับเอกสารตามข้อ 1.2.2 ข้างต้น
– แบบฟอร์มยื่นขออนุญาตปลูกสร้าง ข.1
– สำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาโฉนดที่ดินที่จะปลูกสร้าง (ถ่ายสำเนาเท่าขนาดจริง) พร้อมเซ็นรับรองสำเนา ถูกต้องทุกแผ่น
– หนังสือมอบอำนาจกรณีผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของโฉนดที่ดิน (หากเป็นคนเดียวกับผู้ยื่นขออนุญาตก็ไม่ต้องใช้)
– หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างบนโฉนดที่ดิน